top of page

การจัดทำ คู่มือ “9 ขั้นตอน สู่การเป็นองค์กรลดพุงลดโรค”  โดยมีเนื้อหามุ่งเน้นแนวทางออกแบบกิจกรรมต่างๆ เพื่อก้าวไปสู่การเป็น “องค์กรลดพุงลดโรค” ประกอบด้วย 9 ขั้นตอน ซึ่งเหมาะสำหรับส่วนงานที่เกี่ยวข้อง เช่น ฝ่ายทรัพยากรบุคคลฝ่าย CSR ฯลฯ ในการช่วยส่งเสริมสุขภาพที่ดีของพนักงานเพื่อเป็นปัจจัยสำคัญที่ช่วยให้เกิดประสิทธิภาพในด้านการผลิต การลดค่าใช้จ่ายในด้านการรักษาพยาบาล การลดจำนวนวันลาป่วย และผลประกอบการที่ดีขึ้น

 

ทั้งนี้ เนื้อหาของคู่มือ “9 ขั้นตอน สู่การเป็นองค์กรลดพุงลดโรค” ได้วางแนวคิดบนพื้นฐานเรื่องการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่อย่างคุ้มค่า ทั้งในด้านบุคลากรและงบประมาณ อีกทั้งมีเป้าหมายเพื่อให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตทั้งในระดับบุคคลและองค์กร

จะเป็นการดีหรือไม่ หากเราเลือกที่จะ“สร้างเสริม” ก่อน “ซ่อมแซม” สุขภาพ

โดยมีกลุ่มเป้าหมายสำคัญ คือ กลุ่มคนวัยทำงานเนื่องจากวิถีชีวิตแต่ละวันต้องนั่งอยู่บนเก้าอี้เป็นเวลานานมีความเครียดสะสม และขาดการดูแลสุขภาพอย่างเหมาะสม
ไม่ว่าจะเป็นด้านอารมณ์ อาหาร และการมีกิจกรรมทางกายไม่เพียงพอ

ซึ่งส่งผลให้เกิด กลุ่มโรค NCDs (Non-Communicable Diseases) หรือเรียกชื่อภาษาไทยว่า กลุ่มโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง คือโรคซึ่งไม่ได้เกิดจากการติดเชื้อโรค แต่เป็นการป่วยไข้ที่เป็นผลจากพฤติกรรมการใช้ชีวิตที่เสี่ยงต่อสุขภาพ และส่งผลให้เกิดโรคเรื้อรังที่ค่อยๆ เกิดขึ้นอย่างช้าๆ อาทิ โรคหัวใจและหลอดเลือด โรคเบาหวาน โรคมะเร็ง โรคระบบทางเดินหายใจ เป็นต้น

กลุ่มโรค NCDs ได้สร้างผลกระทบมากมายทั้งผู้ป่วยครอบครัว และประเทศ โดยผู้ป่วยนอกจากต้องทรมานจากความเจ็บป่วยแล้ว ยังต้องเสียค่าใช้จ่ายที่แพงในการรักษา
พยาบาล ครอบครัวต้องเผชิญกับความกดดันในการดูแลผู้ป่วย และประเทศต้องเสียงบประมาณจำนวนมากในด้านสวัสดิการ รวมถึงขาดทรัพยากรบุคคลเพื่อพัฒนาชาติ

bottom of page